การสร้างหุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติด้วย ROS2
฿6,900.00
อาจาร์ย |
ดร.อภิสิทธิ์ ตันตระวรศิลป์ |
---|---|
ประวัติ |
ผู้เชี่ยวชาญด้าน การสร้างหุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติด้วย ROS2 |
วันอบรม |
2-3 เมษายน 2568 |
สถานที่จัดอบรม |
NECTEC |
จำนวนผู้เข้าอบรม |
9 |
Course Proposal
ชื่อหลักสูตร (ภาษาไทย): การสร้างหุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติด้วย ROS2.
ชื่อหลักสูตร (ภาษาอังกฤษ): A Development of Autonomous Mobile Robot Based on ROS2.กลุ่มเป้าหมาย
- วิศวกรในโรงงานอุตสาหกรรม
- นักพัฒนา หรือ System Integrator
- บุคคลทั่วไป นักศึกษา และอาจารย์ในสถาบันการศึกษา
จำนวนผู้เข้าอบรม 9 คน
ระยะเวลาการฝึกอบรม 2 วัน
วิทยากร: ดร.พิเชษฐ์ บุญหนุน, ดร.อภิสิทธิ์ ตันตระวรศิลป์ และ ดร.กิตติพงศ์ เอกไชย
ที่มาและความสำคัญ
หลักสูตรนี้จะเน้นให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจส่วนประกอบของหุ่นยนต์ AMR ขั้นพื้นฐาน ตั้งแต่ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ Ubuntu และ ROS รวมไปถึงกลไกหุ่นยนต์ บอร์ดควบคุม การเชื่อมต่อกับเซนเซอร์ การติดตั้งและปรับแต่งพารามิเตอร์ของหุ่นยนต์ การใช้งาน GUI ของโปรแกรมสร้างแผนที่ (Mapping) และนำทาง (Navigation) โดยความรู้ขั้นพื้นฐานที่ได้รับ จะทำให้ผู้เข้าอบรมสามารถพัฒนาหุ่นยนต์ AMR เพื่อนำไปใช้ในงานด้านอื่นๆ เช่น หุ่นยนต์ส่งของภายในอาคาร/โรงงาน และหุ่นยนต์เสริฟอาหาร เป็นต้น
ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร
- ผู้เข้าอบรมสามารถเข้าใจโครงสร้างของหุ่นยนต์ AMR เรียนรู้การติดตั้ง ปรับแต่ง และใช้งานโปรแกรมบน ROS2 และสามารถออกแบบและสร้างขึ้นด้วยตัวเอง
- ผู้เข้าอบรมสามารถเข้าใจการเชื่อมโยงกันของโปรแกรมต่างๆที่ถูกเรียกใช้งานบน ROS2 เช่นการปรับแก้ไฟล์ของคอนโทรลเลอร์บนบอร์ดควบคุมเพื่อให้เชื่อมต่อเซนเซอร์ และอุปกรณ์อินพุตเอาต์พุตต่างๆ
ผลกระทบและประโยชน์ที่ผู้เข้าอบรมจะได้รับ
- ผู้เข้าอบรมสามารถสร้างหุ่นยนต์ AMR ภายในโรงงานของตัวเอง เพื่อลดต้นทุนในการนำเข้า อีกทั้งยังสามารถปรับแต่ง ซ่อมแซม หุ่นยนต์สำหรับงานด้านอื่นๆ ภายในโรงงานได้ด้วยตนเอง รวมถึงการต่อยอดธุรกิจด้านหุ่นยนต์บริการได้อีกด้วย
รายละเอียด/กำหนดการอบรม
วันที่ | ช่วงเวลา | หัวข้อ | ชื่อผู้สอน |
---|---|---|---|
1 | 9.00 – 10.00 | พื้นฐาน AMR และโครงสร้างของหุ่นยนต์
ส่วนประกอบของหุ่นยนต์และการเชื่อมต่อบอร์ดอินพุตเอาต์พุตกับอุปกรณ์ต่างๆ |
ดร.อภิสิทธิ์ ตันตระวรศิลป์ |
10.00 – 10.30 | การติดตั้ง OS และ ROS2 บนตัวหุ่นยนต์ | ดร.พิเชษฐ์ บุญหนุน | |
10.30 – 10.45 | พักรับประทานอาหารว่าง | ||
10.45 – 12.00 | การติดตั้ง OS และ ROS2 บนตัวหุ่นยนต์ (ต่อ) | ||
12.00 – 13.00 | พักรับประทานอาหารกลางวัน | ||
13.00 – 14.30 | อธิบายโปรแกรมสำหรับเชื่อมต่อระหว่าง OrangePi กับบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ที่นำมาใช้ขับมอเตอร์ และเซนเซอร์ต่างๆ | ดร.อภิสิทธิ์ ตันตระวรศิลป์ | |
14.30 – 14.45 | พักรับประทานอาหารว่าง | ||
14.45 – 16.00 | การสร้างไฟล์ urdf ของอุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆ | ดร.พิเชษฐ์ บุญหนุน | |
2 | 9.00 – 10.30 | การปรับแต่ง parameters
และการใช้งานโปรแกรมสร้างแผนที่ Mapping – การสร้างแผนที่, การ Save map และ การ Load map |
ดร.พิเชษฐ์ บุญหนุน |
10.30 – 10.45 | พักรับประทานอาหารว่าง | ||
10.45 – 12.00 | สอนการใช้งานโปรแกรมนำทาง Navigation
– การกำหนดตำแหน่งเริ่มต้น และการกำหนดตำแหน่งเป้าหมาย – ผู้เข้าอบรมทดลองการใช้งานโปรแกรมนำทาง |
||
12.00 – 13.00 | พักรับประทานอาหารกลางวัน | ||
13.00 – 13.30 | การสร้างโปรแกรม GUI ขึ้นมาใช้งานร่วมกับโปรแกรม Mapping และ Navigation | ||
13.30 – 14.30 | ฟังก์ชันเข้าจอดอัตโนมัติ Auto Docking
– โปรแกรมส่วนค้นหา Dock |
ดร.กิตติพงศ์ เอกไชย | |
14.30 – 14.45 | พักรับประทานอาหารว่าง | ||
14.45 – 16.00 | ฟังก์ชันเข้าจอดอัตโนมัติ Auto Docking (ต่อ)
– โปรแกรมส่วนเข้าจอดอัตโนมัติ – ติดตั้งโปรแกรม ฯ และปรับพารามิเตอร์ |
หลักสูตรที่ควรอบรมใน SMC ACADEMY ก่อนเรียนหลักสูตรนี้
- การเขียนโปรแกรม ROS2 สำหรับควบคุมการทำงานของหุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติ
พื้นฐานองค์ความรู้ก่อนอบรมหลักสูตรนี้
- มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ Embedded System
สิ่งที่ผู้เข้าอบรมต้องเตรียมสำหรับการอบรม
- คอมพิวเตอร์ที่สามารถติดตั้งระบบปฏิบัติการ Ubuntu


สินค้า pre-order: จัดส่งภายใน 45 วัน
Vendor Information
- No ratings found yet!
รีวิว
Clear filtersยังไม่มีบทวิจารณ์